วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555






การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์ต



          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
          3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้
                    1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                              "และ"                    ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
                              "หรือ"                    ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
                              "ไม่"                       ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย
                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว
                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
                              ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*
                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

อินเตอร์เน็ตคืออะไร


อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)
ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)
อินเทอร์เน็ตคืออะไร
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol)
เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์
ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน
เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว



 
ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ(สหรัฐอเมริกา)
กับรัสเซียเนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการ
ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์สามารถสั่งการและทำงานได้
ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูหรือขีปนาวุธ
นิวเคลียร เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วน
ถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดโครงการวิจัย
และพัฒนาระบบ เครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA(Advanced Research Projects Agency)
และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า อินเทอร์เน็ต” (Internet)
ในปัจจุบัน
 

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้ ดังรูป


องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง
ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก


2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)
เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก

3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem



2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

มือใหม่ใช้งานอินเตอร์เน็ต เชิญทางนี้

มือใหม่ใช้งานอินเตอร์เน็ต เชิญทางนี้

สำหรับใครยังเป็นมือใหม่ และยังใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่คล่อง เชิญทางนี้ วันนี้เรามีคำแนะนำในการใช้งานอินเตอร์เน็ต มาเล่าบอกต่อๆ กัน? คงต้องทำความรู้จักกับคำว่า "Web Browser" กันสักนิด คำๆ นี้หมายถึงโปรแกรมที่ใช้สำหรับการท่องอินเตอร์เน็ต บางคนอาจเรียกสั้นๆ ว่า "Browser" เป็นต้น

เริ่มต้นการใช้งานอินเตอร์เน็ต

  1. ทำความรู้จักโปรแกรมในการท่องโลกอินเตอร์เน็ต
    • เริ่มต้นต้องรู้จักโปรแกรมที่ใช้ในการท่องโลกอินเตอร์เน็ตกันก่อน โดยเฉพาะกับโปรแกรม Windows Internet Explorer มีสัญลักษณ์โลโก้เป็นตัวอักษร "e"?ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานในการใช้งาน และโปรแกรมนี้มีมาพร้อมกับ Windows อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไป download มาจากที่ไหน ยกเว้นแต่ต้องการทดลองใช้โปรแกรมอื่นๆ หรือ upgrade เท่านั้น
    • Mozilla FireFox? อีกหนึ่งโปรแกรมสำหรับท่องอินเตอร์เน็ต สามารถ download และใช้งานได้ฟรี เช่นเดียวกันกับ Windows Internet Explorer จุดเด่นของโปรแกรมนี้อยู่ที่ความเร็วในการใช้งาน หรือเข้าเว็บไซต์?แถมมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สูงมากด้วย
    • โปรแกรมอื่นๆ ได้แก่ Opera, Google Chrome, Safari, Plawan (ของคนไทย) เป็นต้น
  2. ทำความรู้จัก "ลิงค์"?
    • ลิงค์ก็คือการเชื่อมโยงข้อความจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง (หรืออาจเป็นหน้าเดียวกันก็ได้)? จะสังเกตได้ว่ามีลิงค์ตรงไหน ให้ลองเลื่อนเม้าส์ไปวางใกล้ๆ ข้อความ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ" แสดงว่าเป็นลิงค์ ให้คลิกได้เลย? บางเว็บก็แสดงขีดเส้นใต้ให้ด้วย
    • ลิงค์สามารถใช้รูปภาพแทนได้ ลองวางเม้าส์เหนือรูปภาพ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ"? ก็แสดงว่าเป็นลิงค์เหมือนกัน
    • ลิงค์สามารถใช้รูปภาพเคลื่อนไหว (เช่น Flash Animation เป็นต้น) แทนได้ ลองวางเม้าส์เหนือรูปภาพ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ"? ก็แสดงว่าเป็นลิงค์เหมือนกัน
  3. บันทึกรูปภาพบนอินเตอร์เน็ต
    • ถ้าต้องการรูปภาพบนอินเตอร์เน็ต บางเว็บไซต์ก็อนุญาตให้บันทึก หรือ Save ได้ แต่บางเว็บก็ไม่อนุญาต? โดยทั่วไปเราสามารถบันทึกภาพจากอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ เพียงคลิกขวาเหนือรูปภาพ จากนั้นคลิกเลือก Save As หรือ Save Picture As จากนั้นก็เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บรูปภาพ
    • รูปภาพเคลื่อนไหว มีได้หลายประเภท?ตัวอย่างเช่น
      • GIF สามารถบันทึกภาพได้เช่นเดียวกับรูปภาพปกติ
      • Flash Animation ไม่สามารถบันทึกได้ด้วยวิธีปกติ ต้องเข้าไปดูทีโฟลเดอร์ Temporary Internet Files และเลือกไฟล์ที่เราต้องการ ไฟล์จะมีนามสกุล .SWF
      • ไฟล์วีดีโอ เช่น FLV เป็นต้น โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ YouTube.com ที่ให้บริการข้อมูลภาพวีดีโอ ถ้าต้องการบันทึก ต้องใช้โปรแกรมพิเศษช่วย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก? เทคนิคการ save ไฟล์วีดีโอจาก YouTube
    • รูปภาพ?Lock ปกติหลายๆ เว็บมีการเขียนโปรแกรมป้องกันการคลิกขวา แต่ความเป็นจริงแล้ว เราสามารคลิกปุ่ม PrtScr (Print Screen) จากแป้นพิมพืได้ ดังนั้น lock ไม่อยู่แน่นอน
  4. เปิดเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บพร้อมกัน
    • เราสามารถเปิดเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บพร้อมๆ กันได้ เพราะบางครั้งเว็บที่เราเข้าไป ยังโหลดข้อมูลไม่เสร็จ ดังนั้น เพื่อไม่เสียเวลา ลองเข้าไปดูอีกเว็บหนึ่งได้ สำหรับผู้ใช้งาน Windows Internet Explorer เวอร์ชั่นใหม่ จะมีความสามารถในการแสดงเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บที่แสดงบนแท็ป ลองทดสอบโดยการคลิกเมนู File เลือก New Tab (ถ้ามี) จากนั้นให้พิมพ์ชื่อเว็บใหม่ที่ต้องการ
  5. ค้นหาเว็บทั่วโลก
    • เราสามารถใช้เว็บที่ให้บริการค้นหาเว็บทั่วโลกได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นกับความต้องการค้นหาข้อมูลของเราว่า ต้องการแบบไหน
      • Web Search Engine เว็บที่ให้บริการค้นหาโดยเฉพาะ เพียงแค่พิมพ์ข้อความที่ต้องการในช่องค้นหา เช่น คำว่า "ไอที", "ฟรีแวร์" เป็นต้น คำเหล่านี้เราเรียกว่า Keyword และคลิกค้นหา แค่นี้เว็บนั้นๆ ก็จะแสดงรายชื่อของเว็บที่มีความเกี่ยวข้องกับ keyword ที่เราค้นหาให้? ตัวอย่างเว็บ Web Search Engine ระดับโลกได้แก่ http://www.google.com/, http://www.bing.com/, http://www.yahoo.com/ เป็นต้น
      • Web Directory หมายถึงเว็บที่มีจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว เช่น หมวดคอมพิวเตอร์ หมวดท่องเที่ยว หมวดการศึกษา เป็นต้น ทำให้เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่คลิกเลือกเว็บที่ต้องการเท่านั้น? ตัวอย่างเว็บ ได้แก่ http://www.sanook.com/, http://www.kapook.com/ เป็นต้น
  6. Download โปรแกรมและข้อมูล
    • อีกหนึ่งบริการจากเว็บไซต์ที่เราเข้าถึง บางเว็บไซต์อาจมีบริการแจกฟรีโปรแกรม แจกรูปภาพ หรือจากวีดีโอ ซึ่งเราสามารถคลิกไฟล์เหล่านั้นได้ทันที ปกติ จะมี หน้าต่างแสดงรายละเอียดให้เรา download และคลิกและรอให้ download ข้อมูลจนเสร็จก่อนใช้งาน
    • ถ้าต้องการให้ download ได้เร็วสุดๆ นอกเหนือจากการซื้อ Internet Speed สูงๆ แล้ว เราจำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยประเภท Download Manager สนใจอ่านรายละเอียดได้ที่ รวมมิตรโปรแกรมช่วย download ให้เร็วขึ้น
  7. ดูหนัง ฟังเพลง
    • ไม่พูดไม่ได้เลย เพราะเป็นอีกหนึ่งวิธีการพักผ่อนโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวช่วย เราสามารถเข้าเว็บไซต์ที่ให้บริการดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ได้ ไม่ว่าจะเป็น http://www.siamtv.info/, http://www.youtube.com/ หรือ ค่ายเพลงดังๆ ของไทย เช่น GMM http://www.gmember.com/ เป็นต้น
แค่นี้ คงพอให้เราเข้าใจการใช้งานอินเตอร์เน็ตบ้างแล้วน่ะครับ สำหรับเทคนิคการใช้งานอินเตอร์เน็ตอื่นๆ จะนำมาเล่ากันในหัวข้อต่อๆ?ไปครับ ขอให้สนุกกับการเล่นอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องน่ะครับ :)

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำความสะอาดด้วย...มะนาว

 
ทำความสะอาดด้วย...มะนาว (Lisa)

1. ทำไมน่ะเหรอ

           กลิ่น กลิ่นของมะนาวเป็นกลิ่นสดชื่นและทำให้กระปรี้กระเปร่า สำหรับหลายคนกลิ่นมะนาวเป็นสัญลักษณ์ของความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหลายอย่างในตลาดทุกวันนี้จึงมักผสมกลิ่นมะนาวเข้าไปเพื่อให้ผู้ใช้ชื่นชอบ

           กรด ความเป็นกรดของมะนาวช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ด้วย

2. วิธีใช้มะนาวทำความสะอาด

           ทองแดง รอยเปื้อนบนหม้อหรือภาชนะที่เป็นทองแดงสามารถกำจัดได้อย่างง่ายดายด้วยมะนาว แค่ผ่ามะนาวครึ่งซีกแล้วจุ่มลงในเกลือ และใช้ขัดถูทำความสะอาดภาชนะทองแดงของคุณ

           ผสมกับน้ำส้มสายชู น้ำส้มสายชูเป็นส่วนผสมที่เหมาะสำหรับการทำความสะอาดอยู่แล้ว แต่บางคนก็ไม่ชอบกลิ่นของมันเติมน้ำมะนาวลงไปสักหน่อย จะช่วยให้กลิ่นของมันเจือจางลง และเพิ่มพลังในการทำความสะอาด

           ขัดพื้นเคาน์เตอร์ หยดน้ำมะนาวลงบนรอยเปื้อนที่ฝังแน่น บนพื้นเคาน์เตอร์ ทิ้งไว้สักสองสามนาที แล้วใช้เบกกิ้งโซดาขัดช้ำอีกที รอยเปื้อนจะหายไป แต่อย่าทิ้งน้ำมะนาวไว้นานเกินไป มันอาจกัดกร่อนพื้นผิวจนเสียหายได้

           ท่อน้ำทิ้ง เทน้ำร้อนผสมกับน้ำมะนาวเล็กน้อยแล้วเทลงในท่อน้ำทิ้ง มันจะทำให้ท่อน้ำมีกลิ่นสะอาดขึ้น

           ฟอกขาว น้ำมะนาวเป็นสารฟอกสีตามธรรมชาติ ใช้น้ำมะนาวถูรอยเปื้อนบนผ้าขาย และปล่อยทิ้งกลางแดดให้แห้ง รอยเปื้อนก็จะหายไป

                                     



 สุราลิ้นจี่ลำไย

มีตัวแทนชาวสวนทางเชียงรายสอบถามเกี่ยวกับการผลิตสุรากลั่นจากลิ้นจี่มา ตอบคำถามทางโทรศัพท์อย่างไร ก็ไม่ชัดเจน และไม่สามารถหาแหล่งยีสต์ให้เขาได้ ผมจึงส่งนักวิจัยขึ้นเครื่องบิน ไปช่วยสอนให้ในเบื้องต้น โดยเขาช่วยค่าใช้จ่ายให้บางส่วนเท่านั้น แต่ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริการวิชาการเกี่ยวกับสุรา เราก็บริการให้ถึงที่สุด ถ้าหากมีปัญหาเร่งด่วนจริง
อีกไม่นานลำไยก็จะออกมาอีก ถ้าออกมากก็จะล้นตลาดอีกเช่นกัน สำหรับลิ้นจี่ ปีนี้อาจจะไม่ทันเสียแล้ว แต่ถ้าเตรียมตัวให้พร้อม อาจจะยังผลิตเหล้าลำไยได้ทัน ส่วนปีหน้าก็เตรียมทำเหล้าลิ้นจี่ไว้ได้เลย

การเตรียมน้ำหมัก

ถ้าท่านที่เคยไปอบรมการทำไวน์มาก่อน อาจจะทราบว่า การเตรียมน้ำผลไม้สำหรับทำไวน์นั้น ค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร คือต้องปรับให้น้ำผลไม้มีกรดและน้ำตาลเหมาะสม ต้องวัดปริมาณกรดในน้ำผลไม้ ถ้ากรดมากไปก็เติมน้ำลงไปเพื่อลดกรด และพอเติมน้ำแล้ว ก็ต้องเติมน้ำตาลเพื่อปรับให้มีความหวานพอที่จะได้แอลกอฮอล์ออกมาเป็นไวน์ และตอนก่อนจะเติมหัวเชื้อยีสต์ ก็ต้องฆ่าเชื้อในน้ำผลไม้เสียก่อน จะด้วยวิธีการต้ม หรือเติมสารเคมีก็ตาม เพื่อป้องกันเชื้อที่ไม่ต้องการมาทำให้น้ำผลไม้บูดเสีย
แต่การหมักน้ำผลไม้เพื่อกลั่นเป็นสุราผลไม้ กลับไม่ยากอย่างทำไวน์ เพราะเราไม่ต้องกลัวว่าน้ำหมักนั้นจะมีกรดมากไป (อันนี้หมายถึงผลไม้ที่เหมาะจะนำมาหมักนะครับ ไม่ใช่มะยม กระเจี๊ยบ ส้ม) เพราะจากฉบับที่แล้ว ผมได้เล่าถึงไวน์ของคอนยัค ที่จะนำมากลั่นเป็นบรั่นดี เขาเป็นองุ่นพันธุ์ที่เปรี้ยว ไม่เหมาะจะทำไวน์ มีกรดมาก น้ำตาลน้อย แต่ทำบรั่นดีได้สุดยอด เพราะเมื่อน้ำหมักเป็นกรด ก็จะช่วยป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรีย และมีน้ำตาลไม่มากเท่าน้ำหมักที่จะทำไวน์ ก็จะทำให้เราได้แอลกอฮอล์ออกมาไม่สูงมาก เมื่อนำไปกลั่น ก็จะได้ผลผลิตที่มีกลิ่นหอมของผลไม้มาก เพราะต้องกลั่นให้เข้มข้นมากเพื่อแยกแอลกอฮอล์ที่มีอยู่น้อยนิดนั้นออกมา ก็จะได้กลิ่นหอมตามมาด้วย แต่ถ้ามีแอลกอฮอล์สูงแบบไวน์ปกติ คือ 11 – 13 ดีกรี ก็จะกลั่นได้กลิ่นวัตถุดิบน้อยกว่า เพราะกลั่นไม่เท่าไรก็ได้เหล้าแล้ว
ดังนั้น ถ้าเราผลิตสุราจากลิ้นจี่หรือลำไย ถ้าเราคั้นน้ำแล้ววัดความหวานได้ 15 – 16 องศาบริกส์ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่ต้องเติมน้ำตาลลงไปอีก ซึ่งปกติถ้าทำไวน์ลิ้นจี่ จะต้องเติมน้ำลงไป เพื่อลดกรด ลดเปรี้ยว ทำให้ความหวานลดลงไปด้วย ก็เลยต้องเติมน้ำตาลลงไป เพื่อดึงความหวานขึ้นมา แต่ถ้าทำน้ำส่าลิ้นจี่เพื่อจะนำไปกลั่น ก็ไม่ต้องเติมน้ำเพื่อลดกรด เพราะกรดหรือรสเปรี้ยวนี้ เมื่อกลั่นจะไม่ไปกับน้ำสุรา เพราะเป็นกรดที่ไม่ระเหย จึงไม่ทำให้เหล้าเปรี้ยว
และเมื่อไม่ต้องลดกรดโดยการเติมน้ำ ก็ไม่ต้องเติมน้ำตาลให้เปลืองต้นทุน น้ำส่าที่จะนำไปกลั่นก็ควรจะมีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 10 ดีกรี สมมุติว่าน้ำหมักมีน้ำตาล 16 องศาบริกส์ ก็จะหมักได้แอลกอฮอล์ประมาณ 8 ดีกรี ก็เหมาะกับการนำไปกลั่นแล้ว
การคั้นน้ำลิ้นจี่ หรือลำไย ก็อาจเป็นปัญหาได้ เพราะต้องใช้แรงงานมาก ในการปอกเปลือก คว้านเมล็ด บีบคั้นน้ำ ถ้ามีเครื่องแยกเนื้อผลไม้ ก็จะช่วยได้มาก ซึ่งหาซื้อได้ไม่ยาก แถวเวิ้งฯ น่าจะมีขาย หรือจะสั่งบริษัทที่จำหน่ายเครื่องมือแปรรูปอาหารทั้งหลายก็ได้ นอกจากนั้น ลิ้นจี่ และลำไย มีเพคตินสูง ซึ่งจะอุ้มน้ำเอาไว้ ทำให้เราคั้นน้ำได้น้อย เราก็สามารถใช้เอนไซม์ หรือน้ำย่อย ชื่อ เพคติเนส ใส่ลงไป ช่วยให้สกัดน้ำผลไม้ได้มากขึ้น และน้ำหมักก็จะใสดี นำแต่น้ำไปหมัก แต่ถ้าไม่ใส่เอนไซม์ ก็ให้แช่เนื้อลิ้นจี่ไว้กับน้ำสักวัน น้ำก็จะซึมออกมามากขึ้น
การใช้เอนไซม์ มีข้อพึงระวัง คือน้ำย่อยตัวนี้ จะไปย่อยเพคตินในเนื้อผลไม้ ทำให้เกิดเมธิลแอลกอฮอล์ เมื่อนำไปกลั่น จะต้องตัดน้ำหัวทิ้ง อย่างน้อยก็ 1 % ของสุราที่กลั่นได้ เพื่อป้องกันอันตรายจากเมธิลแอลกอฮอล์
นอกจากนี้แล้ว เราควรจะเติมไดแอมโมเนียมฟอสเฟตลงไปด้วย สัก 10 กรัม ต่อ 100 ลิตร เพื่อเสริมอาหารให้กับยีสต์ เพื่อให้เจริญเติบโตได้อย่างสบายใจ

การเตรียมยีสต์สตาร์ทเตอร์และการหมัก

ถ้าท่านอ่านเกษตรแปรรูปเป็นประจำ เรื่องการเตรียมหัวเชื้อยีสต์ หรือที่เรียกกันในวงการว่า สตาร์ทเตอร์ ก็คงเป็นเรื่องไม่ยากเย็นอะไร ใช้วิธีที่นักวิชาการใช้กันอยู่ทั่วไป คือถ้าใช้ยีสต์สดที่อยู่ในหลอดวุ้น ก็เขี่ยลงในน้ำหมัก ปริมาตร 100 ซีซี ในขวด 250 ซีซี น้ำหมักนี้อาจจะใช้น้ำลิ้นจี่ น้ำลำไย ที่เอามาเจือน้ำนิดหน่อย ให้เหลือ 10 องศาบริกส์ แล้วต้มฆ่าเชื้อ หรือจะใช้น้ำสับปะรดก็ได้ สะดวกดี หาง่าย และเลี้ยงยีสต์ได้ดี เมื่อเขี่ยยีสต์ลงไปแล้ว ก็เขย่าแล้วหมักไว้ 1 วัน พอวันรุ่งขึ้น ก็เอาน้ำสตาร์ทเตอร์อันนี้ แบ่งมา 40 ซีซี เติมลงในน้ำหมัก 2 ลิตร ทำเป็นสตาร์ทเตอร์ขนาดใหญ่ขึ้น เลี้ยงไว้อีก 1 วัน ก็นำไปเป็นหัวเชื้อให้กับน้ำหมักได้ 100 ลิตร (ใช้อัตราส่วนหัวเชื้อแต่ละขั้น 2 เปอร์เซ็นต์)
ยีสต์ที่ใช้หมักผมไม่แนะนำให้ใช้ยีสต์ทำขนมปัง เพราะจะผลิตแอลกอฮอล์ได้น้อยเกินไป และให้กลิ่นรสที่ไม่ดี แต่จะผลิตฟองเยอะ ถ้าหายีสต์ผงของฝรั่งได้ ก็จะดี แต่ราคาแพง ก็ใช้วิธีนำมาทำสตาร์ทเตอร์ แล้วจึงใช้สตาร์ทเตอร์นี้ไปหมักถังใหญ่ ก็จะประหยัดยีสต์ผงไปได้มาก และหากใช้ยีสต์สดโดยใช้วิธีทำหัวเชื้อที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็สามารถเลือกใช้พันธุ์ที่ใช้หมักไวน์ผลไม้ ที่พอจะหาได้จากสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ เช่นที่ศูนย์จุลินทรีย์ของ วว. ภาควิชาจุลชีววิทยาของมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น
ในการหมักจะใช้เวลาเท่าใด ขึ้นกับอุณหภูมิของการหมัก ถ้าเป็นอากาศบ้านเรา ก็น่าจะไม่เกินสัปดาห์ ท่านผู้ผลิตควรจะมีเครื่องวัดความหวาน หรือรีแฟรกโตมิเตอร์ คอยวัดว่าค่าองศาบริกส์ลดลงเหลือจนหยุดหรือยัง ถ้ายังลดลงอยู่การหมักก็ยังไม่จบ
ในระหว่างที่หมักก็ควรระวังเรื่องการปนเปื้อน อย่าเปิดฝาถังหมัก อย่าให้อากาศเข้า อย่าปล่อยให้น้ำในถังหมักร้อนเกินไป ยิ่งใช้ถังใหญ่มากเท่าไร ความร้อนในถังยิ่งระบายออกได้ยากขึ้น ทำให้เชื้ออาจร้อนจนหยุดการหมักหรือเชื้อตายได้

การกลั่น

ถ้าหากผู้ผลิตไม่ต้องการสิ้นเปลืองพลังงานในการต้มกลั่น 2 ครั้ง ก็พออนุโลมให้กลั่นครั้งเดียวได้ แต่สุรากลั่นผลไม้ที่ดี ได้พิสูจน์กันมาแล้วจากนานาประเทศ ว่าควรกลั่น 2 ครั้ง ตามวิธีการของคอนยัคที่ผมได้เขียนไว้ในฉบับที่แล้ว เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งของการกลั่น 2 ครั้งก็คือ ในการกลั่นครั้งแรก เราสามารถจะกลั่นเอาแอลกอฮอล์ออกมาให้ได้มากที่สุด แล้วกลั่นครั้งที่ 2 เพื่อกำจัดสารที่ไม่ต้องการออกไป โดยการตัดหัวหาง วิธีการกลั่น 2 ครั้งมีดังนี้
ในการกลั่นครั้งที่ 1 น้ำส่ามีแอลกอฮอล์ประมาณ 7 – 8 ดีกรี การกลั่นใช้เวลาประมาณ 8 – 12 ชั่วโมง แล้วแต่เครื่อง น้ำเหล้าที่ออกมาช่วงแรกจะอยู่ที่ประมาณ 70 ดีกรี และจะลดลงเรื่อยๆ อุณหภูมิของไอจะคงที่ ที่ประมาณ 85 องศา (เครื่องกลั่นควรติดเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทั้งส่วนน้ำส่าและส่วนไอ) กลั่นและเก็บน้ำสุราเรื่อยๆ จนกระทั่งดีกรีในน้ำสุราที่ออกมาเหลือไม่กี่ดีกรี เช่นจะหยุดที่ 5 หรือ 2 ดีกรี ก็แล้วแต่ว่าจะยอมเปลืองเชื้อเพลิงอีกหรือไม่ น้ำสุราทั้งหมดที่ได้เมื่อผสมกันแล้วจะมีดีกรีในช่วง 25 – 30 ดีกรี
รวบรวมน้ำสุราทับที่ 1 ไปกลั่นทับที่ 2 โดยเร่งไฟให้ได้อุณหภูมิกลั่น เมื่อมีน้ำสุราเริ่มออกมาให้ลดไฟ คุมไฟให้น้ำเหล้าค่อยๆ ไหล เหล้าส่วนหัวจะมีแอลกอฮอล์ 75 – 80 ดีกรี นำไปเติมน้ำดื่มเจือจางให้มีดีกรีต่ำกว่า 35 – 37 ดีกรี ถ้าเติมน้ำแล้วเหล้ายังขุ่น แปลว่ายังมีสารเคมีที่เป็นหัวเหล้าอยู่ ให้กลั่นต่อไปจนเมื่อนำเหล้ามาเจือน้ำแล้วได้เหล้าใส แปลว่าส่วนหัวหมด จึงเริ่มเก็บเหล้า เมื่อน้ำเหล้าที่ออกมามีดีกรีต่ำกว่า 65 ก็ตัดเป็นส่วนหาง โดยส่วนหางนี้ให้เร่งไฟเพื่อให้กลั่นได้เร็วๆ แล้วนำเหล้าส่วนหางที่กลั่นทับ 2 มานี้ ไปกลั่นใหม่ หรือนำไปรวมกับน้ำเหล้าทับ 1 เพื่อนำมากลั่นทับ 2 อีก
สรุปก็คือสุราที่เราใช้ คือส่วนกลาง ที่มีดีกรีไม่ต่ำกว่า 65 ดีกรี แต่ถ้าจะลดต้นทุนลงอีกหน่อย ก็อาจจะตัดหางที่ต่ำกว่านี้ แต่ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 55 ดีกรี
หากต้องการกลั่นเพียงครั้งเดียว ก็ลงมือตัดหัวตัดหางเสียแต่ในการกลั่นครั้งเดียวนี้เลย โดยตัดหางที่ดีกรีเดียวกันคือที่ 65 หรืออย่างต่ำที่ 55 ดีกรี ส่วนหางให้นำไปรวมกับน้ำส่ามากลั่นใหม่เช่นกัน

การผสมสุรา

ถ้าจะให้เป็นคนทำเหล้าระดับเซียน ก็ต้องมีเทคนิคในการผสมเหล้า และทำเหล้าออกมาให้เหมือนกันได้ทุกครั้ง อาจจะแบ่งน้ำเหล้าแต่ละส่วน แม้จะเป็นเหล้าส่วนกลาง แต่ช่วงแรกๆ ดีกรีสูง ช่วงหลังๆ ดีกรีต่ำกว่า ก็ยังสามารถแยกกันไว้ แล้วค่อยมาผสมกันทีหลัง ในอัตราส่วนที่กำหนดเอง โดยอาศัยการลองผิดลองถูก ทำจนชำนาญ ดมทีเดียวรู้ว่าเป็นเหล้าส่วนไหน
น้ำที่นำมาผสมก็ควรมีคุณภาพใกล้เคียงน้ำดื่ม เพราะสุรา 40 ดีกรี จะเป็นน้ำ 60 % แล้ว ถ้าใช้น้ำไม่ดี สุราก็ไม่ดีไปด้วย จะเห็นเหล้าฝรั่งบางยี่ห้อ เวลาโฆษณาจะพูดถึงแหล่งน้ำที่เขาใช้ว่ามาจากเทือกเขาอะไร ได้น้ำมาจากหิมะที่ละลายไหลลงมาแสนบริสุทธิ์ ฯลฯ แต่นี่เราใช้น้ำบ่อผสม คนทำยังไม่กล้าดื่มเหล้าตัวเอง อุตส่าห์กลั่นมาอย่างดี ตกม้าตายตอนจบ
ส่วนใครที่อยากจะทำสุราสี ทำบรั่นดีผลไม้ที่ต้องบ่มในไม้โอ๊ค หรือสุราปรุงพิเศษอย่างอื่นๆ คงต้องอดใจรอกันอีกระยะหนึ่ง เพราะต้องให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม แก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับขนาดของโรงงานสุราและเงื่อนไขต่างๆ แต่ถ้าท่านมีเงินทุนหนา ก็สามารถตั้งโรงงานสุราตามเกณฑ์ปัจจุบันได้เลย

การตลาดสุราผลไม้

อย่าลืมว่าสุรากลั่นจากผลไม้ มีคุณภาพและคุณค่าสูงกว่าเหล้าขาวจากกากน้ำตาล ต้นทุนการผลิตก็สูงกว่า เพราะผลไม้ราคาแพงกว่า แถมมีเปลือกมีเมล็ด มีก้านมีใบ ที่ต้องทิ้งไป แต่เวลาซื้อขายก็นับน้ำหนักของสิ่งเหล่านี้ไปด้วย และจะให้คุณภาพดีก็ต้องกลั่น 2 ครั้ง ทำให้เปลืองพลังงานมากกว่า ดังนั้นจึงไม่ควรจะนำไปจำหน่ายเป็นสุราขาวธรรมดาๆ แข่งกับเหล้าโรง แต่ควรจะแต่งหน้าแต่งตัวให้เหมาะสมกับฐานะ ใส่ขวดสวยๆ ติดฉลากเป็นภาษาต่างชาติ มีรูปผลไม้ที่ใช้ผลิต ตั้งชื่อให้ทันสมัย และจำหน่ายในราคาสมน้ำสมเนื้อ เช่น 150 – 300 บาท หรือจะให้แพงกว่านี้ก็ยังได้ เพราะเหล้าลิ้นจี่ เหล้าลำไย ยังไม่มีขายที่อื่นใดในโลก
สำหรับชื่อของเหล้าลิ้นจี่ เหล้าลำไย ก็อาจใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Lychee Spirit และ Longan Spirit ตามชื่อลิ้นจี่และลำไยในภาษาอังกฤษ